โศภิษฐ์ตา

สวัสดี ฝากความคิดถึงกันไว้หน่อย นะจ๊ะ

วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2554

ศูนยฺ์หม่อนไหม

กลุ่มพืชให้สีดำ          กระบก  น้ำ สีที่คั้นจากผลกระบกสดกับน้ำ หรือต้มผลสดกับน้ำในอัตรา 1:1 เมื่อนำมาย้อมเส้นไหมด้วยวิธีย้อมร้อน (อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส) นาน 40 นาที แล้วแช่เส้นไหมในน้ำโคลนนาน 48 ชั่วโมง หมั่นกลับเส้นไหมให้แช่น้ำโคลนทั่วถึง หลังจากนั้นนำไปนึ่งไอน้ำนาน 20 นาที ทำให้เส้นไหมเป็นสีเทาดำ สีคงทนต่อแสงและการซักระดับดีตามมาตรฐานอุตสาหกรรม
          คนทา  ไม้พุ่มกึ่งเลื้อยซึ่งใช้ผลเป็นวัตถุดิบให้สี สกัดสีโดยต้มผลสดกับน้ำอัตรา 1:1 หรือหมักผลสดนึ่งกับน้ำนาน 1 ชั่วโมง ย้อมเส้นไหมในน้ำสีสกัดโดยการย้อมร้อน แล้วแช่เส้นไหมในน้ำโคลนและนึ่งไอน้ำ เช่นเดียวกับการย้อมด้วยน้ำสีจากผลกระบก ได้เส้นไหมสีดำประกายแดง คุณภาพสีคงทนต่อแสงและการซักดีมาก คือ สีไม่ซีด สีไม่เปลี่ยนและสีไม่ตก
          เปลือกเงาะโรงเรียน  วัตถุดิบเหลือทิ้งนี้นำมาใช้ย้อมเส้นไหมได้สีดำ สีคงทนต่อแสงและการซักดีมาก การสกัดน้ำสีจากเปลือกเงาะโรงเรียน ต้มเปลือกผลสดกับน้ำอัตรา 1:3 ย้อมเส้นไหมด้วยวิธีย้อมร้อน แล้วแช่เส้นไหมในน้ำโคลน ซึ่งใช้เป็นสารช่วยติดสี จากนั้นนำเส้นไหมนึ่งด้วยไอน้ำร้อนได้เส้นไหมสีดำ คุณภาพสีคงทนต่อแสงและการซักผ่านมาตรฐานอุตสาหกรรมระดับดีมาก
 
กลุ่มพืชให้สีม่วง          มะหาด  การ สกัดสีและย้อมเส้นไหมด้วยน้ำสีสกัดจากผลมะหวด แม้ได้เส้นไหมติดสีม่วง แต่คุณภาพสีไม่ทนแสง ไม่ว่าจะใช้วิธีสกัดสีหรือใช้สารช่วยติดสีชนิดใดก็ตาม
          หว้า  เส้นไหมที่ย้อมด้วยน้ำสีจากผลหว้าที่สกัดโดยต้มผลหว้ากับสารละลายโซดาซักผ้า 3 เปอร์เซ็นต์ แล้วแช่เส้นไหมในสารละลายจุนสี ได้สีเขียวขี้ม้า และสีไม่ซีดเมื่อถูกแสง เทียบระดับความคงทนต่อแสงตามมาตรฐานได้ระดับดี แต่สีคล้ำลงเล็กน้อยหลังการทดสอบการซัก
           เปลือกมังคุด  เมื่อต้มเปลือกมังคุดสดกับน้ำผสมโซดาซักผ้า 3 เปอร์เซ็นต์ ได้น้ำสีม่วง ย้อมเส้นไหมแบบย้อมร้อน แล้วแช่เส้นไหมในน้ำจุนสี ได้สีเขียวขี้ม้า สีไม่ซีดจางเมื่อถูกแสง มีระดับความคงทนต่อแสงระดับดีมาก สีไม่ตกและสีไม่เปลี่ยน เมื่อทดสอบการซัก
           ผลหม่อนสุก  ผลหม่อนสุกมีสีม่วงคล้ำ เมื่อต้มผลหม่อนสุก 1 ส่วนกับน้ำ 3 ส่วน ได้สีม่วงแดง เมื่อนำมาย้อมเส้นไหมแบบย้อมร้อน (อุณหภูมิ 95 องศาเซลเซียส) เป็นเวลานาน 40 นาที ขณะที่อุณหภูมิของน้ำสีลดลงที่ 70 องศาเซลเซียส เติมน้ำมะนาว 30 มิลลิลิตร ต่อน้ำสี 30 ลิตร แล้วนำเส้นไหมลงย้อมต่ออีก 10 นาที ได้เส้นไหมสีม่วงอมเทาเข้า สีไม่ตกเมื่อซักด้วยน้ำสะอาดหลังการย้อม
 
กลุ่มพืชให้สีแดงหรือแดงอมส้ม          จากรากยอบ้านและใบเทียนกิ่ง เมื่อนำมาสกัดสีและย้อมเส้นไหมได้สีน้ำตาลอมแดงและแดงอมส้มพบว่าเมื่อต้มราก ยอบ้าน (ทั้งราก) ซึ่งหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใช้รากยอบ้าน 1 ส่วน กับน้ำ 3 ส่วน ต้มนาน 3 ชั่วโมง นำไปย้อมเส้นไหมที่ 60 องศาเซลเซียส นาน 1 - 3 ชั่วโมง แล้วแช่เส้นไหมในน้ำจุนสี 1 เปอร์เซ็นต์ หรือน้ำมะขามเปียกช่วยให้คุณภาพสีทนต่อแสงดีขึ้น
          ส่วนการย้อมเส้นไหมด้วยน้ำสีสกัดจากใบเทียนกิ่งพบว่า การย้อมที่อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส นาน 1 ชั่วโมง ด้วยน้ำสีที่ได้จากการต้มใบเทียนกิ่ง เส้นไหมเป็นสีน้ำตาลเหลืองอมส้ม มีการดูดซับสีดีที่สุด และวิธีที่ทำให้เส้นไหมเป็นสีส้มอมแดงมากที่สุด (เทียบกับวิธีการอื่น ๆ ที่ทดลอง) คือ ย้อมเส้นไหมในน้ำสีสกัดใบเทียนกิ่งที่ผสมน้ำสนิมเหล็ก ย้อมที่ 90 องศาเซลเซียส นาน 3 ชั่วโมง
 
กลุ่มพืชให้สีเหลือง          ดอกดาวเรือง  การสกัดสีจากกลีบดอกดาวเรืองสดหรือกลีบดอกที่นึ่งและอบแห้งในอัตราดอกแห้ง 40 - 42 กรัม หรือกลีบดอกสด 280 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร ย้อมเส้นไหมที่อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที จากนั้นนำเส้นไหมขึ้นล้างด้วยน้ำสะอาดแล้วจึงแช่ในสารละลายช่วยติดสี 5 เปอร์เซ็นต์  ที่มีอุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส นาน 15 นาที เส้นไหมติดสีเหลืองทองและสีน้ำตาลทอง เมื่อใช้สารส้มและจุนสี เป็นสารช่วยติดสี สีที่ได้มีความคงทนของสีต่อแสงและการซักระดับดีมาก และดีตามมาตรฐานอุตสาหกรรม
         ขมิ้นเครือ  นอกจากใช้เป็นยาสมุนไพรแล้ว น้ำสีที่ได้จากการต้มขมิ้นเครือแห้ง อัตรา 100 กรัม กับน้ำ 2 ลิตร ใช้เป็นสีย้อมไหมได้ วิธีย้อมเส้นไหมให้ติดสีดีและเส้นไหมไม่แตกเป็นขุย ควรย้อมในน้ำสกัดจากขมิ้นเครือที่อุณหภูมิประมาณ 85 องศาเซลเซียส นาน 90 นาที การใช้สารช่วยติดสีที่มีฤธิ์เป็นด่างและเกลือแกง ช่วยให้เส้นไหมติดสีเหลืองทองเข้มกว่าเมื่อใช้สารติดสีที่มีฤทธิ์เป็นกรด และคุณภาพสีดีกว่าการไม่ใช้สารช่วยติดสีใด ๆ การย้อมที่อุณหภูมิ 95 องศาเซลเซียส เป็นเวลานาน ทำให้เส้นไหมเสื่อมสภาพเส้นแตกเป็นขุย
          ขี้เหล็กบ้าน  น้ำสีที่สกัดได้จากการต้มใบขี้เหล็กบ้าน (ใบแก่) กับสารละลายกรดน้ำส้ม 1 เปอร์เซ็นต์ เมื่อย้อมเส้นไหมที่อุณหภูมิ 85 - 90 องศาเซลเซียส นาน 40 นาที หลังจากนั้นนำเส้นไหมขึ้นและล้างด้วยน้ำสะอาด แล้วจึงแช่ในสารละลายจุนสี 5 เปอร์เซ็นต์ ได้เส้นไหมสีเหลืองอมเขียว เมื่อแช่ในน้ำมะขามและสารส้ม เส้นไหมเป็นสีเหลืองอมน้ำตาล สีที่ได้มีความคงทนต่อแสง และการซักดีปานกลาง
 
กลุ่มพืชให้สีเขียว
          แก้ว  ไม้ ยืนต้นขนาดเล็ก ดอกสีขาว กลิ่นหอม ใบเรียบสีเขียวเข้มเป็นมัน ใช้ใบเป็นวัตถุดิบให้สี โดยสกัดสีจากใบสดด้วยการต้มกับน้ำอัตรา 1:4 ย้อมเส้นไหมในน้ำสีแบบย้อมร้อน นาน 40 นาที จากนั้นล้างน้ำให้สะอาดแล้วแช่ในสารละลายจุนสี 5 เปอร์เซ็นต์ นาน 15 นาที ได้เส้นไหมสีเขียว สีคงทนต่อแสงและการซักระดับดี ส่วนการใช้สารช่วยติดสีอื่น ๆ เช่น สารส้ม น้ำต้มใบพืช ต่าง ๆ น้ำมะขามเปียก ส่วนใหญ่เส้นไหมติดสีเหลืองถึงเขียว การใช้สารช่วยติดสีทุกชนิดก่อนการย้อมหรือผสมลงในน้ำสีก่อนย้อม สีที่ได้ไม่คงทนต่อแสงและการซัก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ฝากความคิดเห็นนิดนึงนะคะ น่านิดนึง เสียเวลานิดเดียวนะ นะ